การเรียนการสอน

เครื่องหมายวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ดาวน์โหลดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

เพื่อให้บัณฑิตแพทย์มีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติ สอดคล้องกับมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แพทยสภา และสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก (World Federation for Medical Education – WFME) อย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย ดังต่อไปนี้

  • ประยุกต์ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (basic and clinical sciences) ในการบริบาลสุขภาพ
  • มีความตระหนักและประพฤติตนตามหลักเวชจริยศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ (medical ethics and professional law)
  • มีความสามารถในการสื่อสารเชิงวิชาชีพ (professional communication)
  • มีความสามารถในการวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาผู้ป่วยอย่างมีเหตุผล
  • มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์และเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ (critical thinking and evidence based medicine)
  • มีความสามารถในการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ (patient investigation) เพื่อสนับสนุนหรือลบล้างสมมติฐานสาเหตุของปัญหา
  • มีความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพระบบบริบาลสุขภาพ: สุขภาพของบุคคล ชุมชน และประชาชน (Health promotion and health care system: individual, community and population health) และการบริบาลแบบองค์รวม (holistic care)
  • มีความสามารถในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างสมเหตุผล (patient management)
  • มีความสามารถในการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและการทำหัตถการ (technical and procedural skills)โดยคำนึงถึงและป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยและญาติ
  • มีความรับผิดชอบในบทบาทแพทย์และความรับผิดชอบต่อสังคม (roles of doctor and social responsibility)
  • มีความสามารถในการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพและเชิงปัจเจกบุคคล (professional and personal development)
  • มีความสามารถในการเป็นผู้นำ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น (leadership and teamwork)
  • มีความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษา (institutional pride)
  • มีจิตสาธารณะ (public spirits)

ชื่อปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): แพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Medicine
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พ.บ.
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.D.

สีเขียว (หัวเป็ด)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ดูเพิ่มเติมที่นี่

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

ดูเพิ่มเติมที่นี่

เอกสารรายงานตัว

(สำหรับผู้กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการคัดเลือกรอบ 1 ให้ยื่นสำเนาหลักฐานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ในวันปฐมนิเทศนักศึกษาด้วย) 

  • รูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 3 รูป

  • บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ (ตัวจริง)

  • สำเนาหลักฐานการศึกษา จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัครสอบ จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัครสอบ จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ปกครอง จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ปกครอง จำนวน 1 ชุด

(รับรองสำเนาถูกต้องทุกสำเนา)

เกณฑ์การเทียบโอน

เพื่อให้การเทียบโอนรายวิชาของวิทยาลัยแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรังสิต  มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต  และเกณฑ์มาตรฐานของแพทยสภา  จึงกำหนดเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนเพื่อใช้กับนักศึกษาแพทย์ปีการศึกษา 2564  เป็นต้นไป  ดังนี้

  1. ให้ยกเลิกประกาศวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เรื่อง เกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรายวิชา พ.ศ. 2550
  2. เป็นนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตทุกขั้นตอน
  3. การเทียบโอนให้เทียบโอนได้เฉพาะหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และกลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ หมวดวิชาเฉพาะตามหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต  วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา  2562  เท่านั้น  และผลการประเมินในรายวิชาจะต้องเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับคะแนนตัวอักษร B หรือได้แต้มระดับคะแนน 3.00 หรือเทียบเท่า
  4. รายวิชาในกลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพหมวดวิชาเฉพาะ และกลุ่มวิชาชีพหมวดวิชาเฉพาะไม่สามารถเทียบโอนได้
  5. การเทียบโอนและการรับโอนรายวิชาให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยรังสิต เรื่อง  การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา  พ.ศ.  2546
  6. การคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรังสิตว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี  พ.ศ.2559 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยรังสิต ว่าด้วยการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2562

ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่   5   มิถุนายน    2564

ข้อบังคับมหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่