วิทยาลัยรังสิต มีหนังสือที่ วรส 595/2531 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 ถึงทบวงมหาวิทยาลัย ขออนุญาตเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และได้มีหนังสือที่ วรส. 216/2531 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2531 ถึงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือ ให้นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เข้าฝึกปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลเด็ก (ปัจจุบันเป็น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี) โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาอนุมัติในหลักการให้สถานที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ สำหรับโรงพยาบาลเด็ก และโรงพยาบาลราชวิถี นั้น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ขอความร่วมมือไปยังกรมการแพทย์ ในการอนุมัติสถานที่ดังกล่าวแล้ว โดยแจ้งให้มหาวิทยาลัยรังสิตทราบ ตามหนังสือ ที่ สธ 0212/4 – 4/636 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2531ชุมชน และสถานีอนามัยต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

ปรัชญา

ผลิตแพทย์ที่ได้มาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคม

ปณิธาน

ผลิตแพทย์ที่มีความสามารถในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

พันธกิจ

สถาบันผลิตแพทย์รัฐร่วมเอกชน ที่สร้างประโยชน์ด้านการแพทย์ให้กับสังคม ผลิตบัณฑิตแพทย์ได้มาตรฐานแพทยสภา และระดับสากล 1. เน้นการพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในอนาคต 2. มุ่งเน้นการวิจัย 3. ปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการเรียนรู้ 5. ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบัน

วิสัยทัศน์

สถาบันผลิตแพทย์รัฐร่วมเอกชนอันดับหนึ่งของประเทศระดับมาตรฐานสากล

วัฒนธรรมองค์กร

สามัคคี มีคุณธรรม

อัตลักษณ์

ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม รับใช้สังคม

เอกลักษณ์

มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่ “การศึกษา คือ นวัตกรรม”

ค่านิยม

LIPS (ร่วมพลังทำงาน เน้นการเรียนรู้ ด้วยความโปร่งใสมีคุณธรรม อย่างมืออาชีพ) L (Learning) = มุ่งเน้นการเรียนรู้ I (Integrity) = คุณธรรม P (Professionalism) = มืออาชีพ S (Synergy) = พลังร่วม

ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่พึงประสงค์

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. ประยุกต์ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (basic and clinical sciences) ในการบริบาลสุขภาพ
  1. มีความตระหนักและประพฤติตนตามหลักเวชจริยศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ (medical ethics and professional law)
  1. มีความสามารถในการสื่อสารเชิงวิชาชีพ (professional communication)
  2. มีความสามารถในการวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาผู้ป่วยอย่างมีเหตุผล
  1. มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์และเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ (critical thinking and evidence based medicine)
  1. มีความสามารถในการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ (patient investigation) เพื่อสนับสนุนหรือลบล้างสมมติฐานสาเหตุของปัญหา
  1. มีความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพระบบบริบาลสุขภาพ: สุขภาพของบุคคล ชุมชน และประชาชน

(Health promotion and health care system: individual, community and population health) และการบริบาลแบบองค์รวม (holistic care)

  1. มีความสามารถในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างสมเหตุผล (patient management)
  2. มีความสามารถในการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและการทำหัตถการ (technical and procedural skills) โดยคำนึงถึงและป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยและญาติ
  1. มีความรับผิดชอบในบทบาทแพทย์และความรับผิดชอบต่อสังคม (roles of doctor and social responsibility)
  1. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพและเชิงปัจเจกบุคคล (professional and personal development)
  1. มีความสามารถในการเป็นผู้นำ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น (leadership and teamwork)
  2. มีความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษา (institutional pride)
  3. มีจิตสาธารณะ (public spirits)